สโมสรฟุตบอลยะลา
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

[เกร็ดความรู้] ++ วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์ ++

Go down

เป็นบทความที่มีประโยชน์มากไหม

[เกร็ดความรู้] ++ วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์ ++ I_vote_lcap0%[เกร็ดความรู้] ++ วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์ ++ I_vote_rcap 0% 
[ 0 ]
[เกร็ดความรู้] ++ วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์ ++ I_vote_lcap0%[เกร็ดความรู้] ++ วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์ ++ I_vote_rcap 0% 
[ 0 ]
[เกร็ดความรู้] ++ วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์ ++ I_vote_lcap0%[เกร็ดความรู้] ++ วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์ ++ I_vote_rcap 0% 
[ 0 ]
 
คะแนนทั้งหมด : 0
 
 

[เกร็ดความรู้] ++ วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์ ++ Empty [เกร็ดความรู้] ++ วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์ ++

ตั้งหัวข้อ  Windy Sat May 15, 2010 12:51 am

^
^
^
[แบบสำรวจ] เป็นบทความที่มีประโยชน์มากไหม?
meephum @ hatyai.com weboard พิมพ์ว่า:สโมสรฟุตบอลอาชีพทั่วโลก เขาจะบริหารงานในรูปแบบของบริษัท จำกัด ครับ แต่ถ้าต้องการจะบริหารงานในรูปแบบของสหกรณ์ (ซึ่งเป็นนิติบุคคล) ก็ได้เหมือนกัน และเข้ากับบรรยากาศฟุตบอลลีกของเมืองไทยในยุคเริ่มต้นด้วยครับ วิธีสร้างสโมสรฟุคบอลอาชีพในแนวทางแบบสหกรณ์ เป็นแนวความคิดที่ผมเขียนไว้นานแล้วตั้งแต่ปี 2545 ครับ

วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์

เมื่อพูดถึงคำว่าสหกรณ์ ทุกคนจะเข้าใจไปว่า จะต้องประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรเท่านั้นถึงจะก่อตั้งสหกรณ์ได้ เพราะเราเคยชินกับคำว่าสหกรณ์การเกษตรจนชินหู แต่รูปแบบ วิธีทำและการดำเนินงานของสหกรณ์ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพได้ เนื่องจากผลการดำเนินการของสหกรณ์ (เทียบได้กับสโมสรฟุตบอล) ขึ้นอยู่กับการใช้บริการของสมาชิก (แฟนคลับของสโมสรฟุตบอล) โอกาสจะขาดทุนหรือล้มละลาย จึงเกิดขึ้นได้ยากมาก และจะถูกนายทุนเงินหนามาเทคโอเวอร์เหมือนบริษัทก็เป็นไปไม่ได้ เพราะถูกจำกัดสิทธิ์ในการถือหุ้นตามกฎหมาย ระบบสหกรณ์ผู้ถือหุ้นจะไม่ร่ำรวยเหมือนการถือหุ้นของบริษัท แต่สหกรณ์เองสามารถดำเนินการให้เกิดเงินกำไรมาจ่ายปันผลให้สมาชิกทุกปี เหมือนกับบริษัท

ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยจะมีสหกรณ์อยู่ทั้งหมด 6 ประเภท คือ
1. สหกรณ์การเกษตร
2. สหกรณ์นิคม
3. สหกรณ์ประมง
4. สหกรณ์ร้านค้า
5. สหกรณ์ออมทรัพย์
6. สหกรณ์บริการ

ผมขอ อธิบายรูปแบบของสหกรณ์ให้ฟังคร่าวๆ ก่อนนะครับ ก่อนจะมาปรับเข้ากับวิธีการสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพ ในรูปแบบของสหกรณ์ต่อไป การเริ่มก่อตั้งสหกรณ์ จะต้องมีบุคคลไม่น้อยกว่า 10 คนขึ้นไป รวมกลุ่มกันเปิดรับสมาชิกโดยการขายหุ้นสหกรณ์ให้กับสมาชิกทุกคน ตามหลักกฎหมายแล้ว สมาชิกแต่ละคนจะถือหุ้นสหกรณ์ได้ไม่เกิน 5% ของราคาหุ้นทั้งหมด (จึงไม่มีสิทธิ์เทคโอเวอร์) เมื่อเปิดรับสมาชิกและขายหุ้นได้จนครบตามวัตถุประสงค์แล้ว (เรายังสามารถขายหุ้นสหกรณ์ให้สมาชิกใหม่ได้เรื่อยๆ) ผู้ก่อตั้งจำนวน 10 คนก็จัดประชุมสมาชิกผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของ สหกรณ์ มีอายุดำเนินงานกี่ปีก็ว่าไป

กรรมการผู้ดำเนินงานของสหกรณ์ จะไปจ้างผู้บริหารมืออาชีพมาดำเนินงานแทนกลุ่มตนก็ได้ โดยที่ตนมีหน้าที่ตรวจสอบ สมาชิกของสหกรณ์ทุกคนมีหน้าที่มาใช้บริการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ของตนก่อให้เกิดมีรายได้ขึ้นมา เมื่อสหกรณ์ดำเนินงานมาจนครบปีหรือสิ้นสุดระยะบัญชี บรรดาสมาชิกทุกคนก็จะได้รับเงินถัวเฉลี่ยคืนคนละ 10% ของยอดที่ตนเองไปใช้บริการทั้งปี เช่น ตนเองไปใช้บริการสหกรณ์ทั้งปี เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท ก็จะได้เงินคืน 10,000 บาท เป็นต้น (ข้อนี้บริษัทห้างร้านไม่มี) และเมื่อสหกรณ์หักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ถ้าสหกรณ์มีกำไรในปีนั้น ก็จะจ่ายเป็นเงินปันผลคืนให้สมาชิกตามจำนวนหุ้นที่ตนเองซื้อเอาไว้

คราว นี้เรามาดูแนวทางในการทำสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบการจัดตั้งสหกรณ์ดูบ้าง

เริ่ม จากผู้ริเริ่มจำนวน 10 คน จะเป็นคณะผู้ทำทีมฟุตบอลในตอนนี้หรือจะเป็นแฟนคลับก็ได้ ร่วมกันร่างระเบียบข้อบังคับและกำหนดราคาหุ้นผมคิดว่าราคาหุ้นน่าจะอยู่ ระหว่าง หุ้นละ 100 – 1,000 บาท ถ้าได้ราคา ประมาณ 500 บาท น่าจะดี เพราะนักเรียนนักศึกษา พอจะมีสิทธิ์ซื้อกันได้ การขายหุ้นใช้วิธีแบบแชร์ลูกโซ่ ให้สมาชิกคนหนึ่งหาสมาชิกใหม่มาซื้อหุ้นเพิ่ม 5 – 10 คน หรือประกาศข่าว เชิญชวนในขณะที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลในสนามก็ได้ โดยการแจกโปว์ชัว หรือนัดประชุมผู้สนใจเป็นกลุ่มๆ

เมื่อได้สมาชิกหรือแฟนคลับตามจำนวน ที่ต้องการแล้ว หากได้ประมาณ 1,000 คน ขึ้นไปสโมสรฟุตบอลไม่มีโอกาสล้มละลาย (ควรมีสิทธิ์ถือได้คนละหุ้นเพื่อตัดปัญหาเรื่องคะแนนเสียง) จำหน่ายหุ้นละ 500 บาท จะได้เงินเตรียมทีมขั้นต้น 500,000 บาท สมาชิกของสโมสรที่ถือหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุมกันเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาบริห
ารงานสโมสรฟุตบอล จำนวน 9 –15 คนแล้วแต่ความเหมาะสม

วิธี การเลือกตั้งคือ ให้สมาชิกผู้ถือหุ้นทุกคน เสนอตนเองหรือบุคคลอื่นเสนอชื่อขึ้นมาเป็นคณะกรรมการผู้บริหารสโมสร พร้อมกับแถลงนโยบายในการทำทีมของตน ให้สมาชิกทุกคนทราบ สมาชิกทุกคนมีสิทธิ์เลือกกรรมการผู้บริหารสโมสรได้เพียง 1 คนเท่านั้นโดยการลงคะแนนแบบลับ ให้คนที่ได้รับเลือกคะแนนสูงสุดเรียงลำดับลงมาเรื่อยๆ จนครบจำนวนคณะกรรมการบริหารสโมสร เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ใหเผู้ได้รับการเลือกตั้งทำการจัดสรรตำแหน่งกันเองโดยวิธีการโหวตเสียงส่วน มาก ตั้งแต่ตำแหน่งประธานฯ ไปจนครบทุกตำแหน่ง และให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงปีเดียว เท่านั้น โดยให้หมดวาระลงเมื่อหมดฤดูกาลแข่งขันในแต่ละปี แต่มีสิทธิ์ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่ได้อีกครั้ง เพื่อไม่ให้มีการซื้อเสียงเกิดขึ้นให้สมาชิกที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลงชื่อนาม สกุล และหมายเลขสมาชิกไว้ในบัตรเลือกตั้งนั้นด้วย

คณะกรรมการบริหาร สโมสร มีหน้าที่ทำสัญญาจ้างผู้ฝึกสอน และนักฟุตบอลทุกคน และจะทำการจ้างผู้บริหารมืออาชีพ เพื่อดำเนินการในการในเรื่องการหารายได้เข้าสโมสรก็ได้ สมาชิกสโมสรฟุตบอลผู้ถือหุ้นทุกคน(แฟนคลับ) มีหน้าที่ใช้บริการต่างๆ ของสโมสรเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับสโมสร เช่น ซื้อตั๋วเข้าชมการแข่งขัน ซื้อสินค้าจากร้านที่สโมสรเปิดให้บริการ และร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ทางสโมสรจัดขึ้น เมื่อสิ้นปีหรือจบฤดูกาลแข่งขัน สโมสรจะถัวเฉลี่ยคืนจำนวนเงินที่สมาชิกแต่ละคนมาใช้บริการทั้งปี จำนวน 10% ของยอดรายได้ที่ตนจ่ายไปให้สโมสรทั้งปี เช่นนาย ก. ซื้อตั๋วเข้าชมฟุตบอลและสินค้าต่างๆ ของสโมสรทั้งปี เป็นเงิน 100,000 บาท ก็จะได้ ถัวเฉลี่ยคืนเป็นเงิน 10,000 บาท และเมื่อทางสโมสรหักรายจ่ายต่างๆ หมดแล้ว หากมีกำไร ก็จ่ายคืนเป็นเงินปันผลให้กับสมาชิกตามราคาหุ้น

สหกรณ์ ในประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ประเภท ถ้าเราต้องการจะเป็นนิติบุคคลเราก็สามารถไปจะทะเบียนเป็นสหกรณ์รูปแบบต่างๆ ได้ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด หากเราไม่ต้องการจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเราก็จะใช้คำว่าสหการแทนก็ได้ แต่ถ้าชื่อสหการมันไม่เหมาะกับชื่อสโมสรฟุตบอล เราก็สามารถดำเนินการแบบห้างหุ้นส่วนธรรมดาที่มีกฎข้อระเบียบแบบสหกรณ์ก็ได้ แต่ในความคิดของผมน่าจะเป็นในรูปแบบของ สหกรณ์การค้าแฟนคลับสโมสรฟุตบอลอาชีพ(ชื่อจังหวัด) โดยเราไปจ้างทีมสโมสรฟุตบอลอาชีพ(ชื่อจังหวัด) ไปแข่งขันในนามจังหวัด (ไม่รู้ว่าที่ผมพูดงงหรือป่าวนี้)

ขั้นตอนในการดำเนินงาน ผมคิดว่าที่ยากที่สุดคงเป็นขั้นตอน 10 คนแรก ที่จะดำเนินงาน และสโมสรแรกที่จะเริ่มทำ ถ้าหากปีแรกผ่านไปได้ดี ปีที่ 2 คงมีทีมสโมสรฟุตบอลที่เกาะกระแสทำตามอีกเพียบหลายทีม
ที่มา: click >> เสนอแนะแนวทาง "วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์"



Windy
Windy

จำนวนข้อความ : 306
Join date : 19/02/2010
ที่อยู่ : PSU, Hatyai, Songkhla, TH

http://bit.ly/chfjz9

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ